ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 กลุ่ม
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายการเรียนรู้ในปัจจุบันแยกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) ทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีปัญญา(Cognitive Theories) ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism)
และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
(Social Learning) เมอร์เรียม และคาฟฟาเรลลา (Merriam and caffarella. 1991 : 123-139)ได้สรุปสาระสำคัญของกลุ่มทฤษฎีทั้ง 4 กลุ่มไว้ดังต่อไปนี้
กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เน้นขบวนการภายในที่ทำให้เกิดพฤติกรรม แต่จะสังเกตและวัดผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก การทดลองของกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยมใช้สัตว์เป็นเครื่องทดลอง ทำให้เกิดการโต้แย้งเมื่อนำมาใช้กับการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ว่า พฤติกรรมการแสดงของมนุษย์อาจไม่ตรงตามผลการทดลองกับสัตว์ เนื่องจากมนุษย์มีระบบการรับรู้และการตอบสนองต่างจากสัตว์
ทฤษฎีของกลุ่มพฤติกรรมนิยมกล่าวว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง พฤติกรรมมนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยมีการวางเงื่อนไข มีการเสริมแรงในรูปของรางวัลและการลงโทษ
การเลือกการเสริมแรงมีแนวทางการเลือกที่ต้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อมีการวางเงื่อนไขและการเสริมแรงที่เหมาะสม สิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกับประสบการณ์เดิม จะมีผลทำให้ความคงทนของการเรียนรู้ดีขึ้น
กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีปัญญาเน้นแนวความคิดด้านการหยั่งรู้ (Insight) และการรับรู้ (Perception)พฤติกรรมที่เป็นผลจากการเรียนรู้จึงมีทั้งพฤติกรรมภายในและภายนอก พฤติกรรมภายใน ได้แก่ ความคิดที่ทำให้เกิดการหยั่งรู้ ส่วนพฤติกรรมภายนอก เป็นการแสดงออกและความสามารถในการรับรู้ ทฤษฎีนี้จึงเน้นการสร้างเสริมประสบการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ทำให้เกิดการหยั่งรู้และการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้เรียนสามารถรวมประสบการณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและมองเห็นวิธีการแก้ ปัญหาการจัดเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก จากซับซ้อนน้อยไปสู่ซับซ้อนมาก จากสิ่งที่ไม่มีความหมายใกล้ชิดกับผู้เรียนไปสู่สิ่งที่มีความหมาย การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนดำเนินไปสู่เป้าหมาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากความเข้าใจ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้อยู่ได้นานกว่าการท่องจำ
นอกจากนี้ขบวนการและวิธีการคิดเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ และค้นพบสิ่งใหม่ ๆ อีกด้วย
กลุ่มทฤษฎีมนุษย์นิยม เป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดง- ออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักบรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เป็นทฤษฎีที่แตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้สามทฤษฎีแรกค่อนข้างมากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเน้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่มนุษย์มีส่วนร่วมหรือสังเกตจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในลักษณะการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์สังคมและพฤติกรรมความแตกต่างของพฤติกรรมภายใต้สถานการณ์เดียวกัน สามารถอธิยายได้โดยลักษณะนิสัยส่วนตัว และแรงกระตุ้นที่เป็นปัจจัยความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจึงให้ความสำคัญกับบริบททางสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์ลักษณะการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้บทบาท และพฤติกรรมตามต้นแบบในสังคม
เมอร์เรียมและคาฟฟาเรลลา (Merriam and Caffarella)ได้สรุปสาระสำคัญและเสนอชื่อนักจิตวิทยาการศึกษาที่สนับสนุนแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทั้ง 4 กลุ่มว่า หลักการของทฤษฎีแต่ละกลุ่มเป็นผลจากความพยายามของนักจิตวิทยาการศึกษาที่จะทำความเข้าใจและอธิบายกระบวนการและผลที่เกิดจากการเรียนรู้จากมุมมองที่แตกต่างกันแต่มิได้ขัดแย้งกัน
และทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
(Social Learning) เมอร์เรียม และคาฟฟาเรลลา (Merriam and caffarella. 1991 : 123-139)ได้สรุปสาระสำคัญของกลุ่มทฤษฎีทั้ง 4 กลุ่มไว้ดังต่อไปนี้
กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม เน้นขบวนการภายในที่ทำให้เกิดพฤติกรรม แต่จะสังเกตและวัดผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก การทดลองของกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยมใช้สัตว์เป็นเครื่องทดลอง ทำให้เกิดการโต้แย้งเมื่อนำมาใช้กับการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ว่า พฤติกรรมการแสดงของมนุษย์อาจไม่ตรงตามผลการทดลองกับสัตว์ เนื่องจากมนุษย์มีระบบการรับรู้และการตอบสนองต่างจากสัตว์
ทฤษฎีของกลุ่มพฤติกรรมนิยมกล่าวว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง พฤติกรรมมนุษย์สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยมีการวางเงื่อนไข มีการเสริมแรงในรูปของรางวัลและการลงโทษ
การเลือกการเสริมแรงมีแนวทางการเลือกที่ต้องให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อมีการวางเงื่อนไขและการเสริมแรงที่เหมาะสม สิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกับประสบการณ์เดิม จะมีผลทำให้ความคงทนของการเรียนรู้ดีขึ้น
กลุ่มทฤษฎีความรู้ความเข้าใจหรือทฤษฎีปัญญาเน้นแนวความคิดด้านการหยั่งรู้ (Insight) และการรับรู้ (Perception)พฤติกรรมที่เป็นผลจากการเรียนรู้จึงมีทั้งพฤติกรรมภายในและภายนอก พฤติกรรมภายใน ได้แก่ ความคิดที่ทำให้เกิดการหยั่งรู้ ส่วนพฤติกรรมภายนอก เป็นการแสดงออกและความสามารถในการรับรู้ ทฤษฎีนี้จึงเน้นการสร้างเสริมประสบการณ์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ทำให้เกิดการหยั่งรู้และการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้เรียนสามารถรวมประสบการณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันและมองเห็นวิธีการแก้ ปัญหาการจัดเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก จากซับซ้อนน้อยไปสู่ซับซ้อนมาก จากสิ่งที่ไม่มีความหมายใกล้ชิดกับผู้เรียนไปสู่สิ่งที่มีความหมาย การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนดำเนินไปสู่เป้าหมาย ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากความเข้าใจ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้อยู่ได้นานกว่าการท่องจำ
นอกจากนี้ขบวนการและวิธีการคิดเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ๆ และค้นพบสิ่งใหม่ ๆ อีกด้วย
กลุ่มทฤษฎีมนุษย์นิยม เป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์ นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง อารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม การแสดง- ออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักบรรยากาศในการเรียนเป็นแบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม เป็นทฤษฎีที่แตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้สามทฤษฎีแรกค่อนข้างมากทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเน้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการที่มนุษย์มีส่วนร่วมหรือสังเกตจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ในลักษณะการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์สังคมและพฤติกรรมความแตกต่างของพฤติกรรมภายใต้สถานการณ์เดียวกัน สามารถอธิยายได้โดยลักษณะนิสัยส่วนตัว และแรงกระตุ้นที่เป็นปัจจัยความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจึงให้ความสำคัญกับบริบททางสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์ลักษณะการเรียนรู้เป็นการเรียนรู้บทบาท และพฤติกรรมตามต้นแบบในสังคม
เมอร์เรียมและคาฟฟาเรลลา (Merriam and Caffarella)ได้สรุปสาระสำคัญและเสนอชื่อนักจิตวิทยาการศึกษาที่สนับสนุนแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทั้ง 4 กลุ่มว่า หลักการของทฤษฎีแต่ละกลุ่มเป็นผลจากความพยายามของนักจิตวิทยาการศึกษาที่จะทำความเข้าใจและอธิบายกระบวนการและผลที่เกิดจากการเรียนรู้จากมุมมองที่แตกต่างกันแต่มิได้ขัดแย้งกัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น